ครูอิ๋ง – ครูสาวมากความสามารถ แรปสอนภาษาอังกฤษ

ครูอิ๋ง – ครูสาวมากความสามารถ แรปสอนภาษาอังกฤษ

ได้มีการเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายของคลิปวิดีโอบน TikTok ของครูผู้หญิงท่านหนึ่งที่ทำการแรปสอนภาษาอังกฤษ โดยคุณครูคนที่ว่านั้นก็มีนามว่า ครูอิ๋ง (29 มิ.ย. 2565) ถือว่าได้รับความนิยมกันเป็นอย่างยิ่งกับคลิปวิดีโอบน TikTok ของคุณครูผู้หญิงรายหนึ่งที่แสดงความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการแต่งเพลง ที่เป็นการสอนหลักการเติม -ing ต่อท้ายคำกริยาภาษาอังกฤษ และแรปมาสอนเด็กนักเรียนทั้งหลาย

โดยครูท่านดังกล่าวนั้นก็คือ ครูอิ๋ง – นันทพร แก้วหาญ 

คุณครูประจำโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม จ.สมุทรปราการ ซึ่งครูอิ๋งนั้นก็เคยได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากมาแล้วจากคลิปต้อนรับเปิดเทอมที่เธอได้ร้องเพลงแปลงจากเพลง ทักครัช ของ ลิปตา

นอกจากคลิปวิดีโอทั้ง 2 ชิ้นแล้วนั้น ครูอิ๋งก็ยังได้ทำคลิปวิดีโออื่น ๆ ที่เป็นการร้องเพลงสอนภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์ โดยก็มีผู้ให้ความสนใจ และติดตามคุณครูท่านนี้บน TikTok เป็นจำนวนเกือบแสนรายแล้ว

ข้อความระบุว่า “17.35 น. รับแจ้ง พลเมืองดี พบเห็น ประกายไฟ ที่เสาไฟฟ้า หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา คิคูย่าถนนราชวงศ์ ตลาดสำเพ็ง กู้ภัยไปตรวจสอบ สักพักการไฟฟ้าก็มาถึงที่หลัง มาเร็วดีครับ ขอ ปชช. ช่วยสังเกตุ หากผิดปกติมีควีนไฟ รีบโทรแจ้ง จนท. นะครับ ภาพ อาสาบางรัก 4480”

และในเวลาต่อมาผู้ใช้ทวิตเตอร์คนเดิมก็รายงานว่ามีผู้พบเห็นประกายไฟขณะที่ฝนตกเช่นเดียวกัน แต่คราวนี้เกิดขึ้นที่ บ่อนไก่ โดยระบุว่า “ฝนตกในเขต กทม. มีไฟฟ้าลัดวงจร หลายที่

คลิป เป็นที่บ่อนไก่ ถ้าไหม้กลางคืน ไม่มีคนเห็นน่ากังวล หากมีถังดับเพลิงเคมี ฉีดเบื้องต้นได้เลยครับ แล้วรอ จนท.มาจัดการต่อ”

หลังจากที่ภาพและคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตก็มาแสดงความเห็นกันเป็นจำนวนมาก โดยส่วนมากได้วิจารณ์การทำงานของการไฟฟ้า พร้อมแสดงความกังวลว่าจะเกิดไฟไหม้ขึ้นซ้ำหรือไม่

ประชาชนร้องเรียนหลัง สายไฟรุงรังอยุธยา หวั่นไฟไหม้แบบสำเพ็ง เผยเคยร้องเรียนแล้ว แต่ถูกไล่ให้ไปติดต่อบริษัทเจ้าของสาย ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความและภาพของสายไฟรุงรัง เพื่อเป็นการร้องเรียนทาง การไฟฟ้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและทาง กสทช. หวั่นเกิดไฟไหม้ หลังจากที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุ ไฟไหม้สำเพ็ง จนเป็นเหตุให้มูลค่าเสียหาย หลายสิบล้าน ปละมีผู้เสียชีวิต 2 ศพ

โพสต์ดังกล่าวที่ร้องเรียนเรื่องสายไฟรุงรังอยุธยาระบุว่า “ร้องเรียนได้ไหม? เห็นข่าวไฟไหม้ที่สำเพ็งแล้วชาวบ้านนอนผวากันทั้งซอย!!! วันดีคืนดีก็มีไฟสปาร์ค เคยไฟดับบ่อยครั้ง กลัวมันจะพลั้งเกิดเหตุไฟไหม้เหมือนสำเพ็ง!!! เด็กเล็ก เด็กโต คนชรา แค่เดินผ่านไปผ่านมา ก็ได้แต่ร้องว่ามันน่ากลัวมาก!!!

คิดดูเถิด คนที่นอนในบ้านหลังที่กระชั้นชิดติดกับเสาไฟจะหวาดกลัวอันตรายจากพี่หม้อแปลงและเหล่าบรรดาน้องๆ สายที่คล้องอยู่ด้านล่างขนาดไหน? มีเจ้าหน้าที่มาดูมาซ่อมไฟ เคยขอให้ช่วยเก็บสายที่ห้อยระโยงระยางด้านล่าง พี่เค้าบอกเป็นสารสื่อสาร ให้ไปแจ้งที่บริษัทเจ้าของสาย!!!

ห่ะ!!! ตายล่ะ!!! แล้วชาวบ้านตาดำๆ จะรู้ได้ยังไงว่าสายไหน? เป็นของใคร? เพราะพันกันอยู่เกือบร้อย!!!

สุภาษิตโบราณว่า…”กันไว้ดีกว่าแก้ ”

และเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มา มันแสดงให้เห็นว่า คุณเจ้าหน้าที่ควรมาช่วย “แก้ไขก่อนที่มันจะสายเกินไป”

พิกัด : เสาหม้อแปลงไฟฟ้าหน้าปากซอยวันดี ถ.อู่ทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา”

รถบัส ปรับเพิ่ม ค่าโดยสาร เส้นทางหมวดที่ 2 – 3 มีผลตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 2565

คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง มีมติให้ปรับเพิ่มอัตรา ค่าโดยสาร รถบัส ในเส้นทางหมวด 2 และ 3 กิโลเมตรละ 5 สตางค์ เริ่มวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 (29 มิ.ย. 2565) ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เร่งพิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางหมวด 2 (เส้นทางที่มีต้นทางจากกรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัด) และหมวด 3 (เส้นทางระหว่างจังหวัดที่ไม่มีกรุงเทพมหานครเป็นต้นทางปลายทาง) จากสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้น (อัตราค่าโดยสารปัจจุบัน คิดต้นทุนที่ราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 27.09 บาท ขณะนี้อยู่ที่ราคาลิตรละ 34.99 บาท)

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการขนส่งและไม่เป็นภาระประชาชนมากนัก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะ นายทะเบียนกลาง จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน

โดยที่ประชุมได้พิจารณาแล้วมีมติให้ปรับเพิ่มอัตรา ค่าโดยสาร รถโดยสารประจำทาง (รถบัส) หมวด 2 และหมวด 3 ในอัตรากิโลเมตรละ 5 สตางค์ เพื่อประคับประคองผู้ประกอบการขนส่งให้มีรายได้เพียงพอในการบริหารจัดการเดินรถต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ประชาชนได้รับบริการพื้นฐานที่จำเป็น และอัตราค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน มากเกินไป โดยการปรับอัตราค่าโดยสารดังกล่าว มีผลใช้บังคับวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

สำหรับรถโดยสารประจำทางในส่วนภูมิภาคที่วิ่งภายในจังหวัดให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด พิจารณาอัตราค่าโดยสารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายในจังหวัด คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้กำชับ ขบ. ให้กำกับดูแลผู้ประกอบการให้จัดการเดินรถเป็นไปตามเงื่อนไข และสอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า